WMS (Warehouse Manager) ระบบจัดการคลังสินค้า

WMS(Warehouse Manager) ระบบจัดการคลังสินค้า

                คือ ระบบการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือ วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า โดยอาศัยระบบ Barcode เข้ามาช่วยกำหนดตัวตนของสินค้า หรือวัตถุดิบแต่ละตัว และนำข้อมูลตัวสินค้าหรือวัตถุดิบบันทึกข้อมูลในระบบเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดการในรูปแบบต่างๆ ตามที่เราต้องการ โดยมีการกระทำอยู่ 3 กระบวนกหลัก คือ กระบวนการรับเข้ากระขวนการจัดเก็บ และกระบวนการจัดส่ง

                     
                              รูปตัวอย่างกรณี ไม่มีการใช้ระบบจัดการคลังสินค้า และไม่มีระบบบาร์โค้ด


                    
                               รูปตัวอย่างกรณี มีการใช้งานระบบคลังสินค้า และระบบบาร์โค้ด


ระบบจัดการคลังสินค้าสามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานโปรแกรมได้ 2 ประเภท 

1. ระบบจัดการคลังสินค้าแบบสำเร็จรูป คือ ระบบคลังสินค้าที่ได้ถูกแบบตัวระบบไว้อยู่ โดยจะรูปแบบการทำงานแบบตายตัว เปลี่ยนข้อมูล หรือระบบการทำงานได้น้อย มีข้อจำกัดตามข้อกำหนดตามเวอร์ชันที่ผู้จัดทำกำหนดไว้แล้ว เช่น Version Standard ไม่สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้ หรือ Version Advance รองรับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล       

                 ข้อดีของระบบจัดการคลังสินค้าแบบสำเร็จรูป คือ
                - ราคาถูก เนื่องจากพัฒนาแค่ครั้งเดียว สามารถนำไปใช้งานหลายๆทีได้
                - มีฟังก์ชันการทำงานให้เลือกใช้หลากหลาย
                - พร้อมติดตั้ง และใช้งานได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาพัฒนาใหม่
                ข้อเสียของระบบการจัดคลังสินค้าแบบสำเร็จรูป คือ
                - ระบบไม่ตรงตามขั้นตอนการทำงานของผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องปรับตัวเข้าหาระบบ
                - ระบบมีความยึดหยุ่นน้อย การจะพัฒนาระบบเพิ่มเติมทำได้ยาก
                - เชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ยาก หรือจำกัดตามโปรแกรมกำหนดไว้
                - เกิดการต่อต้าน   ระบบ หรือผู้ใช้งานไม่อยากใช้งานระบบ เนื่องจากต้องเรียนรู้ระบบใหม่
                - หากโปรแกรมไม่ได้ถูกพัฒนาจากผู้ขายอย่างต่อเนื่อง การใช้งานเพื่อรองรับอนาคตเป็นไปได้ยาก

2. ระบบจัดการคลังสินค้าแบบเขียนตามความต้องการ คือ ระบบจัดการคลังสินค้าที่เขียนขึ้นมาจากการทำงานจริงของผู้ใช้งาน โดยการเข้าไปศึกษาการทำงานตามขั้นตอนต่างๆ ตามจริง แล้วนำข้อมูลมาเขียนเป็นรูปแบบของ Work Flow เพื่อสร้างแบบจำลองระบบจัดการคลังสินค้า โดยระบบจัดการคลังสินค้าแบบเขียนตามความต้องการ จะได้ระบบตามที่ผู้ใช้งานต้องการจริงๆ ทำให้ผู้ใช้งานง่ายในการทำงาน สามารถเรียนรู้ระบบได้อย่างรวดเร็ว และเกิดแรงต่อต้านกับระบบน้อย

                ข้อดีของระบบจัดการคลังสินค้าแบบเขียนตามความต้องการ
                - ผู้ใช้งานสามารถใช้งานระบบตามความต้องการจริง
                - เรียนรู้การทำงานของระบบได้เร็วรวด เนื่องจากพัฒนามาจากการทำงานของผู้ใช้งานเดิม
                - ลดแรงต้านทานระหว่างระบบ กับผู้ใช้งาน เนื่องจากระบบพัฒนาจากการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน
                - สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ อย่างไม่มีข้อจำกัด ยกเว้นระบบอื่นไม่ยอมให้เชื่อมต่อ
                - รองรับการทำงานของระบบในอนาคต เนื่องจากระบบสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้
                - สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่ความต้องการของลูกค้า
                - ราคาระบบคิดตามขั้นตอน หรือกระบวนการที่เกิดขึ้นจริง คิดเฉพาะในส่วนที่ผู้ใช้งานต้องการเท่านั้น
                ข้อเสียของระบบจัดการคลังสินค้าแบบเขียนตามความต้องการ
                - เสียเวลาในการพัฒนาระบบ
                - ราคาระบบสูงกว่าระบบจัดการคลังสินค้าแบบสำเร็จรูป

คุณสมบัติของระบบจัดการคลังสินค้า

                - ระบบ Barcode เพื่อจัดการระบุข้อมูลสินค้า หรือวัตถุดิบแต่ละตัว
                - ข้อมูล สินค้า หรือวัตถุดิบ
                - ข้อมูล ผู้ใช้งาน ผู้ชื้อ ผู้ขาย
                - ข้อมูลสินค้าในส่วนของการรับเข้า-ออก
                - ข้อมูลวัตถุดิบในส่วนของการรับเข้า-ออก
                - ข้อมูลการผลิต จำนวนสินค้าดี จำนวนสินค้าเสีย
                - รายงานข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบจัดการคลังสินค้า
                - ตำแหน่งในการเก็บสินค้า
                - สามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบ ของผู้ใช้งาน
                - รองรับอุปกรณ์ได้อย่างหลากหลาย เพื่อง่ายในการเข้าใช้งานระบบ

องค์ประกอบของระบบจัดการคลังสินค้า

                ส่วนประกอบของระบบจัดการคลังสินค้าประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ การรับสินค้า(Receive) การจัดเก็บสินค้า(Storage) และการจัดส่งสินค้า(Delivery) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำหรับในการจัดการสินค้า หรือวัตถุดิบในระบบการทำงาน
กระบวนการรับสินค้า(Receive)
                คือการรับเข้าวัตถุดิบหรือสินค้า เข้ามาเก็บยังคลังสินค้า โดยจะทำการติดบาร์โค้ดลงบนสินค้าหรือวัตถุดิบ โดยเริ่มจากกระบวนการ
                - การป้อนข้อมูลสินค้า หรือดึงข้อมูล จากระบบตามสินค้าที่ต้องการรับเข้าคลัง
                - ทำการพิมพ์บาร์โค้ดสำหรับติดบนสินค้า ที่ต้องการรับเข้าคลัง
                - ตรวจสอบจำนวนสินค้า และติดบาร์โค้ดลงสินค้า
                - บันทึกข้อมูลสินค้า เข้าระบบจัดการคลังสินค้า เพื่อเตรียมจัดเก็บ
กระบวนการจัดเก็บสินค้า(Storage)
                คือกระบวนการจัดเก็บสินค้า หรือวัตถุดิบ หลังจากผ่านการตรวจสอบสินค้า การติดบาร์โค้ด จากกระบวนการรับเข้าสินค้า เพื่อนำไปจัดเก็บตามตำแหน่ง ที่ได้ทำการจัดเตรียมไว้
                - เตรียมพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า และทำการติดบาร์โค้ดแทนตำแหน่งที่ต้องการจัดเก็บ
                - เลือกตำแหน่งที่ต้องการจัดเก็บ และเลือกสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ และทำการบันทึกข้อมูลในระบบจัดการ               คลังสินค้า ซึ่งส่วนมากจะใช้งานอุปกรณ์ Mobile Computer ในการทำงาน
โดยข้อมูลสินค้า และตำแหน่งในการจัดเก็บจะถูกบันทึกไว้ในระบบ เพื่อนำไปใช้สำหรับกระบวนจัดส่งต่อไป
กระบวนการจัดส่งสินค้า(Delivery)
                คือกระบวนการในการจัดเตรียมสินค้า เพื่อทำการส่งสินค้า โดยข้อมูลสินค้า และตำแหน่งสินค้าจะถูกแจ้งมาทางระบบ ผู้ทำการเตรียมสินค้า เพียงกระทำการหยิบสินค้าตามที่ระบบแนะนำ
                - ระบบแจ้งเตือนผู้ใช้งาน เตรียมสินค้า ตามรายการ
                - ผู้ใช้งาน หยิบสินค้า ตามที่ระบบนำ โดยการยืนยันรหัสบาร์โค้ดของตำแหน่งจัดเก็บ และบาร์โค้ดของสินค้า
                - ผู้ใช้งานยืนยันการหยิบสินค้าจากระบบ ระบบจะทำการตัดสต็อกสินค้า โดยอัตโนมัติ

ข้อดีของระบบคลังสินค้า

- เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการสินค้า หรือ วัตถุดิบ จำนวนมาก โดยการติดบาร์โค้ดบนสินค้า หรือวัตถุดิบแต่ละประเภท
บาร์โค้ดที่ติดบนสินค้าหรือวัตถุ มี 2 แบบ คือ S/N(Serial Number) และ P/N(Part Number)
                1. แบบ S/N(Serial Number) คือ บาร์โค้ดแบบเรียงตัวเลขไม่ซ้ำกัน ส่วนมากบาร์โค้ดลักษณะนี้มักใช้เฉพาะสินค้าที่ต้องการระบุตัวเองโดยเฉพาะ เนื่องด้วยสินค้ามีเรื่องการรับประกัน การส่งซ่อมเครื่อง และวันหมดอายุเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ทีวีรุ่นเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน สีเดียว แต่มี S/N ที่ต่างกัน
                                เหตุผลที่ต้องการใช้บาร์โค้ดแบบเรียงตัวเลขไม่ซ้ำกัน เพื่อให้สามารถระบุถึงแหล่งที่มาในการผลิต วัตถุดิบ วันที่ผลิต แผนก บุคคลกรที่ทำการผลิต เพื่อให้ทราบข้อมูล Lot ในการผลิตสินค้านั้นเอง ซึ่งบาร์โค้ด  ประเภท S/N ส่วนมากใช้งานกันเฉพาะภายในโรงงานผลิตเท่านั้น
                2. แบบ P/N(Part Number) คือ บาร์โค้ดบนสินค้าที่เหมือนบนสินค้าชนิดเดียวกัน บาร์โค้ดประเภท P/N ส่วนมากเป็นบาร์โค้ดสำหรับขาย โดยประเทศไทยจะใช้บาร์โค้ดชนิด EAN-13 สำหรับเป็นบาร์โค้ดสำหรับ  ขายสินค้าภายในประเทศ ซึ่งบาร์โค้ดต้องกล่าวจะทำการขออนุญาต และขึ้นทะเบียนจึงสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่ง บาร์โค้ดดังกล่าวหากเป็นสินค้าประเภทเดียวกันก็จะมีบาร์โค้ดรหัสเดียวกัน ตัวอย่างเช่น บะหมี่ขนาด และรสเดียวกัน จะมีบาร์โค้ดเหมือนกัน เราไม่สามารถทราบวันหมดอายุจากรหัสบาร์โค้ดประเภทนี้ได้ จึงมีการพิมพ์วันหมดอายุไว้บนซองอีกครั้งหนึ่ง บาร์โค้ดประเภท P/N เป็นบาร์โค้ดสำหรับไว้บันทึกจำนวนเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบย้อนหลังได้
- เพื่อให้ง่ายต่อการบันทึกข้อมูล ของสินค้า หรือวัตถุดิบ ลงในระบบจัดการคลังสินค้า
- เพื่อให้ง่ายในการควบคุมวัตถุดิบในการผลิต เช่น หากเราทำการบันทึกข้อมูลวัตถุลงในระบบจัดการคลังสินค้า ระบบจะช่วยในการคำนวณวัตถุดิบที่ต้องการใช้ในการผลิตแต่ละครั้งว่าเพียงพอกับการผลิตหรือไม่
- เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และหยิบใช้งาน สินค้า หรือวัตถุดิบ โดยระบบจัดการคลังสินค้า จะมีระบบช่วยในการจัดเก็บวัตถุดิบ โดยระบบจะทำการติดบาร์โค้ดไว้ตามตำแหน่ง เพื่อใช้ในการจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบ
- เพื่อให้ง่ายต่อหยิบสินค้า หรือวัตถุ ตามกระบวน First-In First-Out สินค้า หรือวัตถุดิบ ที่ผลิต หรือจัดเก็บมาก่อน ต้องถูกต้องนำไปใช้งานก่อน
- เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจเช็คจำนวนสินค้าที่ผลิต โดยทุกขั้นตอนในระบบจัดการคลังสินค้า แต่ละจุดที่สินค้าหรือวัตถุดิบผ่านกรรมวิธี หรือขั้นตอนต่างๆ จะมีการบันทึกข้อมูลเข้าไปในระบบจัดการคลังสินค้าทุกครั้ง
- เพื่อให้ทราบจำนวนสินค้า หรือวัตถุดิบที่แน่นอน โดยไม่ต้องเข้าไปตรวจนับเองให้เสียเวลา เนื่องด้วยการจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบ แต่ละคลังจะมีการบันทึกข้อมูลสินค้า ลงในระบบจัดการคลังสินค้าทุกครั้ง
- เพื่อให้ทราบจำนวนสินค้าทั้งหมด กรณีมีหลายคลังสินค้า หลายสถานที่จัดเก็บ เนื่องจากระบบจัดการคลังสินค้า สามารถเชื่อมต่อกันได้หลายๆ คลังพร้อมกันเพื่อให้ทราบจำนวนสินค้า และวัตถุดิบทั้งหมด
- เพื่อให้ทราบข้อมูลการรับเข้า การเคลื่อนไหว การจ่ายออก แบบ Real-Time เนื่องด้วยทุกขั้นตอนที่กระทำต่อสินค้า หรือวัตถุดิบ จะต้องมีการบันทึกข้อมูลทุกครั้ง ทำเราทราบสถานะข้อมูลของสินค้า หรือวัตถุดิบทันที
- เพื่อให้ทราบข้อมูลสินค้า หรือวัตถุดิบ  เป็นสถิติ เพื่อใช้คำนวณ ควบคุมล่วงหน้า ในการผลิต การจัดเก็บ และการจัดส่ง สินค้าหรือวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้สามารถสืบค้นย้อนกลับสินค้า หรือวัตถุดิบได้
- เพื่อให้ง่ายต่อการขนส่ง จัดส่ง สินค้า หรือวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อจัดการพื้นที่ในการจัดเก็บ และใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้ลดปัญหาเรื่องสินค้า หรือวัตถุดิบคงค้าง เนื่องจากการจัดการสินค้าที่มีปัญหา
- เพื่อให้ง่ายต่อนำข้อมูลจากระบบจัดการคลังสินค้าในการประเมินการทำงานของเครื่องของเครื่อง วัตถุดิบ และบุคลากร ภายในองค์กร
- เพื่อให้ง่ายต่อการนำข้อมูลทรัพยากรทั้งหมด รวมถึงบุคลากร นำมาประเมินเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง การทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
- เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามระบบ แผนงาน ตามที่องค์กร ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อความเป็นระบบ ระเบียบในการทำงาน ลดความผิดพลาดจากการทำงาน ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง จากความผิดการทำงาน
- เพื่อความเร็วรวด และแม่นยำ โดยการใช้อุปกรณ์ และระบบ ควบคุมการทำงาน หรือร่วมกันทำงานกับมนุษย์ เพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพ และลดความผิดพลาดในการทำงาน
- เพื่อให้องค์กรมีความน่าเชื่อ เนื่องจากระบบจัดการคลังสินค้า เป็นระบบที่สามารถเพื่อประสิทธิการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

อุปกรณ์ที่ต้องใช้งานร่วมกับระบบจัดการคลังสินค้า

- Server สำหรับใช้ติดตั้งโปรแกรมจัดการคลังสินค้า ขนาดความเร็ว ความจุ ขึ้นอยู่ปริมาณข้อมูลที่ต้องการใช้งานในระบบจัดการคลังสินค้า
- Client  คือ เครื่องสำหรับเข้าไปใช้งานระบบจัดการคลังสินค้า สามารถแยกออกมาได้ดังนี้
                - Computer สำหรับเข้าใช้งานระบบจัดการคลังสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ
                - Mobile Computer สำหรับยันยืนข้อมูลเข้าในระบบ เข้าใช้งานระบบได้เฉพาะส่วนที่ออกแบบไว้ เช่น ตรวจรับสินค้า ตรวจนับสินค้า ยืนยันตำแหน่งจัดเก็บ ยืนยันจัดเก็บสินค้า หรือยืนยันการจัดส่งสินค้า
                - Scanner Barcode สำหรับยันยืนข้อมูลเข้าในระบบ แต่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลเข้าในระบบ
                - Printer Barcode สำหรับพิมพ์บาร์โค้ด หรือข้อมูลสินค้าลงบนตัวสินค้า เพื่อใช้ระบุ ID ของสินค้า
- Network สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกตัวเพื่อส่งข้อมูลไปยัง Server และให้ Server ส่งข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว มายังอุปกรณ์ หรือเรียกว่า อุปกรณ์สำหรับรับส่งข้อมูล มี 2 แบบ แบบมีสาย และแบบไร้สาย
                1. Cable โดยส่วนมาก การเชื่อมต่อแบบมีสาย ส่วนมากยังใช้การเชื่อมต่อแบบ LAN
                2. Wireless โดยส่วนมาก การเชื่อมต่อแบบไร้สาย ใช้งานเชื่อมต่อผ่านระบบ Wi-Fi หรือผ่านสัญญาณโทรศัพท์ในกรณีไม่อยู่ในพื้นเดียวกัน

 AIO WMS (AIO Warehouse Management)

                 เป็นระบบจัดการคลังสินค้าที่เขียนตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยมีทีมขาย และทีมโปรแกรมเมอร์ที่มีประสบการณ์ทางด้านคลังสินค้า เพื่อจัดการระบบของคลังสินค้าของลูกค้าให้ประสิทธิภาพสูงสุดตามงบประมาณที่ลูกค้าต้องการ
                ระบบการจัดการคลังสินค้า(AIO) เป็นระบบจัดการคลังสินค้าแบบ Web Server โดยอาศัย Browser ในการเข้าไปใช้งานระบบ สามารถรองรับอุปกรณ์ได้หลากหลาย เช่น Computer PC, Notebook, PDA, Computer Mobile, Smart Phone, Tablet   และรองรับระบบปฏิบัติการหลากหลาย เช่น Windows, Windows Phone, Windows Mobile, Windows CE, Android and iOS
                ความต้องการของระบบ AIO WMS
- Server สำหรับติดตั้งโปรแกรม เพื่อใช้งานกับระบบทั้งหมด เนื่องด้วยระบบทำงานแบบ Web Server ทำให้การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และการรับส่งข้อมูลทั้งหมด เป็นหน้าที่ของ Server เสมือนเป็นการใช้งานระบบบน Server ทั้งหมด ทำให้ต้องออกแบบ Server ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอกับการใช้งานของระบบ และรองรับการทำงานในอนาคต
                ส่วนประกอบของ Server
                - Hardware : Server หรือคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ เนื่องจากระบบ Web Server เสมือนการทำงานระบบบน Server เพราะฉะนั้นขนาดของทรัพยากรในตัวเครื่องต้องเหมาะสมกับการใช้งานของระบบ เช่น CPU HDD          RAM and ETHERNET Port
                - OS : Windows Server คือระบบปฏิบัติการของ Server โดยทางระบบ AIO WMS Support Any Windows Server และรองรับ Windows Server เวอร์ชั่นล่าสุด
                - Database : SQL Server คือฐานข้อมูลที่เราใช้ในระบบ AIO WMS
                - Client คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ขนาดเล็กหรือใหญ่ ที่สามารถเชื่อมต่อ และเข้ามาใช้งานระบบผ่าน Web Server ได้ โดยรูปแบบการทำงานแบบ Web Server ทำให้ Client เป็นหน้าจอแสดงผลที่เชื่อมต่อการทำงานบน Server ทำให้ระบบดังกล่าว Client ไม่ต้องใช้ทรัพยากรในการประมวลมาก แต่ต้องการแค่อุปกรณ์ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล ตัวอย่าง Client เช่น PC, Notebook, Mobile Computer, Tablet, and Smart Phone

คุณสมบัติพื้นฐานโปรแกรม "AIO WMS"

  • รองรับการทำงานของลูกค้าทุกรูปแบบ ที่สามารถออกแบบการทำงานแบบ Work Flow ได้
  • รองรับสินค้าทุกหน่วยวัดมาตราฐาน
  • รองรับการทำงานบนระบบปฏิบัติการ : Windows Mobile, Window CE, Windows On PC, iOS, MAC and Android
  • รองรับการทำงานบนอุปกรณ์ : PC, Notebook, Tablet, Smart Phone and Mobile Computer
  • รองรับการทำงานกับอุปกรณ์บาร์โค้ด : Printer Barcode, Printer Mobile, Mobile Computer, Scanner Barcode and RFID
  • รองรับการทำงานบน Network Wi-Fi or 3G/4G/5G
  • รองรับการเชื่อมต่อกับทุกโปรแกรม แต่ทางอีกฝั่งหนึ่งต้องพร้อมให้เชื่อมต่อ
  • รองรับการทำงาน User Login
  • รองรับการทำงานแบบ Multi User
  • รองรับการทำงานแบบข้อมูล Realtime
  • รองรับการพิมพ์บาร์โค้ดจากระบบ
  • รองรับการทำงานตามรูปแบบ FIFO : First In First Out, FEFO : First Expire date Frist Out and LIFO : Last In First Out
  • รองรับตำแหน่ง สถานที่จัดสินค้า  พร้อมการคำนวณพื้นในการจัดเก็บสินค้า
  • รองรับการจองสินค้า การยืมสินค้า และการคืนสินค้า 
  • รองรับระบบตรวจสินค้า
  • รองรับการค้นหาสินค้า โดยวันที่ โดยชื่อ โดยเลขที่ใบสั่งชื้อ และอื่นๆ
  • รองรับจำนวนผู้ใช้งานไม่จำกัด
  • รองรับจำนวนอุปกรณ์ใช้ง่านไม่จำกัด
  • รองรับการแจ้งเตือนระบบผ่านทาง Line
 

"AIO WMS" Request

Server :

  • Server CPU≥ 3.0 GHz, RAM ≥ 8 GB, HDD ≥ 500 GB
  • OS ≥ Windows Server 2008
  • Cal User/Device ≥ User/Device use it
  • SQL Server/MongoDB
  • Ethernet 10/100/1000

Client : Support All Device and Operation(Work on browser)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 AIO WMS WAWLIiN

 WORKFLOW : คือ การออกแบบระบบคลังสินค้าโดยคำนึงถึงลำดับขั้นตอนในการทำงานอย่างถูกต้อง และถูกวิธี เพื่อลดความผิดพลาดจากทำงาน เพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุด

  โดยทางบริษัท เน้นเรื่องการออกแบบระบบคลังสินค้าตามลำดับขั้นตอนการทำงานจริง โดยให้ระบบคลังสินค้าที่ออกแบบมีความใกล้เคียงกับการทำงานเดิมของทางลูกค้า เพื่อให้งานในการปฎิบัติงาน และถูกต้องตามความจริงในการปฏิบัติ

  โดยทางบริษัท จะมีเจ้าหน้าที่ ที่ชำนาญการเฉพาะในส่วนของระบบคลังเข้าไปประเมิณการทำงานจริงของหน้า เพื่อทำการออกแบบระบบคลัง พร้อมทั้งแนะนำเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วน หรือ เทคโนโลยี เพื่อให้ระบบเกิดความสมบูรณ์ในการใช้งาน

 AIO WMS WORKFLOW

 โดยข้อมูลที่ประเมิณทางเราจะออกให้เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้าเป็นส่วนสำคัญ ระบบออกแบบให้ความถูกต้อง สมบูรณ์ และแม่นยำ ตามระบบการทำงานของลูกค้าแต่ละราย

 
 AUTO ID : AUTO IDENTIFICATION

  อุปกรณ์สำหรับอ่าน และบันทึกข้อมูล ที่มีรหัสข้อมูล สามารถอ่าน และบันทึกได้โดยอุปกรณ์ที่สามารถแปลงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้

นั้นหมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถแปลงรหัสข้อมูลที่บันทึกโดยคอมพิวเตอร์ และเราสามารถนำรหัสดังกล่าวนำไปใช้งานเพื่อใช้ข้อมูลได้

 •BARCODE : รหัสแท่งข้อมูล ที่สามารถอ่านได้โดยเครื่อง และบันทึกได้ได้เครื่องพิมพ์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถเข้าใจได้โดยคอมพิวเตอร์
 •RFID (RADIO FREQUENCY IDENTIFICATION) : คือ ระบบอ่านเขียนข้อมูล โดยใช้รหัสสัญญาณวิทยุ
 


    โดยระบบคลังสินค้า AIO WMS AUTO ID จะออกแบบ และเลือกใช้งานอุปกรณ์ Auto ID ตามความเหมาะสมของหน้างานโดยประเมิณจากทำงานจริงของหน้างาน และงบประมาณของลูกค้าแต่ละรายเป็นหลัก

 

 WEB SERVER : 

  คือระบบที่ทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์(Host) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล โดยเครื่องลูก(Client)ใช้งานผ่านเบราว์เชอร์ (Browser) ผ่านทาง HTTP/www ทำให้รองรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานกับระบบได้หลากหลายเช่น Computer notebook TABLET and Smartphone และยังไม่จำกัดระบบปฏิบัติการในการเข้าใช้งาน                                           

 

AIO WMS WEB SERVER

 •AIO WMS WEB SERVER รองรับการทำงานผ่าน เบราว์เซอร์ โดยอาศัยแค่ระบบเน็ตเวิร์คผ่านใน โดยไม่ต้องใช้งานอินเตอร์เน็ต แต่หากต้องการใช้งานระบบจากข้างนอกต้องอาศัยอินเตอร์ในการเชื่อมต่อเข้ามายังเซิฟเวอร์ รองรับทั้งแบบ cloud/Server Internal
 •AIO WMS WEB SERVER : WEB CONFIGURATION คือระบบคลังแบบ web server โดยอาศัยการเลือกข้อมูลที่อยู่แล้วในส่วนพื้นฐาน เพื่อให้ระบบหลังบ้านทำการสร้างโค้ดขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องเขียนโค้ดใหม่ทั้งระบบ ทำให้ง่ายต่อการสร้างระบบ และการเปลี่ยนข้อมูลพื้นฐาน
 
 

LEAN : 

  คือหลักการออกแบบระบบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน และความผิดพลาด หรือความสูญเสียจากการทำงานให้ได้มากที่สุด

หลักการพื้นฐานของ ลีน 5 ข้อ คือ

1. กำหนดคุณค่า (Identify Value) : ออกแบบสินค้าตามความต้องการของตลาด
2. วางแผนดำเนินงาน (Map The Value Stream) : ออกแบบแผนการทำงานอย่างมีระบบ
3. สร้างขั้นตอนการทำงาน (Create Flow) : สร้างขั้นตอนการ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ใช้ระบบดึง (Establish Pull) : ผลิตตามจำนวนที่ตลาดต้องการ
5. มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ (Seek Perfection) : ปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
 

  AIO WMS LEAN : นำหลักการความคิดของระบบลีนมาช่วยในการออกแบบระบบ เพื่อระบบของลูกค้านอกจากได้ระบบที่สามารถทำงานอย่างถูกต้องความต้องการ ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลูกค้าได้ด้วย

 

 IOT :  INTERNET OF THING

  คือระบบสำหรับเชื่อมต่อข้อมูล สั่งการ แสดงผลการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร

AIO WMS IOT

 •PLC : Programmable Logic Controller คือ โปรแกรมสำหรับ สั่งการ และควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร
 •RASPBERRY PI : คือ แผงวงจรขนาดเล็ก ที่มีระบบปฏิบัติการ หน้าแสดงผล ที่สามารถสั่งการอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง
 •AUTO MACHINE : AS/RS Robot and Conveyer

  AIO WMS wawliin ออกแบบให้ตัวระบบสามารถสร้างระบบสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ เพื่อสามารถสั่งการ ควบคุม หรือแสดงผลข้อมูล เพื่อระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 INTERFACE : Connect with ETC SOFTWARE

  คือเครื่องมือสำหรับพัฒนาเชื่อมต่อกับระบบอื่น เพื่อเชื่อมต่อและส่งข้อมูลระหว่างกัน โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลใหม่

AIO WMS Interface

 •API : คือ โปรแกรมที่เขียนสำหรับไว้สั่งการเชื่อมต่อข้อมูล
 •WEB SERVICE : คือ เว็บไซต์ที่เขียนไว้สำหรับเชื่อมต่อข้อมูล
 •SHARE DATABASE : คือการให้สิทธิ์เข้าถึงฐานข้อมูล เพื่อให้โปรแกรมภายนอกสามารถเรียกใช้งานข้อมูลได้

  AIO WMS wawliin ออกแบบให้ตัวระบบรองรับการเชื่อมต่อที่หลากหลาย เพื่อความสะดวกในการใช้งานตัวระบบ และให้ทางลูกค้าสามารถใช้งานระบบได้อย่างสมบูรณ์ ลดการคีย์ข้อมูลพลาดจากการทำงานผิดพลาดของมนุษย์

 

 NOTIFICATION : DISPLAY AND ALTER

  คือเครื่องมือสำหรับ แสดงผลการแจ้งเตือนต่างๆ จากการใช้งานในระบบ เพื่อให้ผมใช้งานสามารถมองเห็นผลการทำงานของระบบโดยง่าย

AIO WMS NOTIFICATION

 •SOFTWARE : คือ การแจ้งเตือนข้อมูลบนตัวโปรแกรม เพื่อให้ทราบผลลัพธ์จากการทำงานหน้างานทันที
 •Email / Line : คือ การแจ้งเตือนผลลัพธ์ของระบบผ่านทาง Email or Line
 •DASHBOARD : คือ การแสดงผลการทำงานของระบบ ในแต่ละส่วนการทำงาน ว่าดำเนินการแล้วอย่างไร
 •SCADA : คือ โปรแกรมสำหรับเขียนข้อมูลโครงสร้างของระบบเครื่องจักร เพื่อทำหน้าที่ภาพเสมือนการทำงานของโครงสร้างทั้งหมด
 

  AIO WMS NOTIFICATION ออกแบบให้ตัวระบบมีการแจ้งเตือนผลลัพธ์การทำงานตามกระบวนการต่างๆ ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขการดำเนินการหรือไม่ และแสดงผลการทำงานของระบบในรูปแบบของ Dashboard  เพื่อจะได้มองภาพรวมการงานของระบบทั้งหมด

      


  • บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร บาร์โค้ด(barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า “รหัสแท่ง” ประกอบด้วยเส้นมืด(มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว)วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเล...

  • Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด) Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด) คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจไปยังคอมพิวเตอ...

  • Barcode Printer (เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด คือ เครื่องพิมพ์ สำหรับพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องพิมพ์ ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่าง...

  • Mobile Computer(เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ มีหน่วยความจำ หน่วยประมวลผล มีหน้าจอแสดงผล และสามารถพิมพ์ข้อมูลเข้าไปในตัวเครื่อง สามารถติ...

  • Mobile Printer(เครื่องพิมพ์แบบพกพา) คือ เครื่องพิมพ์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ มีหน่วยความจำ หน่วยประมวลผล เล็กน้อย ทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วทำการสั่งพิมพ์สื่อแบบความร้อน Mobile Printer ...

  • Card Printer(เครื่องพิมพ์บัตรพลาสติก) คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์บนบัตร PVC โดยเฉพาะ โดยใช้ความร้อนละลายหมึกเพื่อพิมพ์บนลงบัตรเครื่องพิมพ์บัตรที่ใช้งานทั่วไปมีความละเอียดข...

  • POS(Point of Sale) ระบบขายหน้าร้าน คือ ระบบสำหรับขายสินค้าหน้างาน สำหรับขายสินค้าทั่วไป ที่ต้องการระบบในการจัดการขายสินค้า รับสินค้า ขายสินค้า ออกบิล และรายงานการขายสินค้า โดยใช้ร...

  • REGISTER SYSTEM(ระบบลงทะเบียน) คือ ระบบลงทะเบียน โดยใช้บาร์โค้ด or RFID แทนที่การเซ็นชื่อเพื่อยืนยันตัวตนแบบเดิม ทำให้ประหยัดเวลา และสามารถตรวจสอบจำนวนผู้ลงทะเบียนได้ทันที ซึ่งระบ...

  • RFID (Radio Frequency Identification) RFID เป็นคำย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีแสดงตนแบบไม่ต้องสัมผัสโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ RFID แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก 1....
Visitors: 101,414