Barcode Printer (เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด)

Barcode Printer (เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด)
                เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด คือ เครื่องพิมพ์ สำหรับพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องพิมพ์ ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่างๆ ที่ทำขึ้นมาสำหรับใช้งานกับตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทั่วไป จะมีความละเอียดของหัวพิมพ์น้อยกว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือมีความละเอียดของหัวพิมพ์อยู่ระหว่าง 200 - 600 Dpi และพิมพ์ได้เพียง 1 สีเท่านั้น (Monotone)
                แต่เนื่องจากเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด มีความเร็วในการพิมพ์สูง และสามารถพิมพ์บาร์โค้ดออกได้อย่างชัดเจน และเหมาะสมกับการพิมพ์บาร์โค้ดสำหรับติดลงวัตถุ หรือสินค้า จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ Thermal Transfer และ Direct Thermal
1. ระบบพิมพ์ผ่านผ้าหมึก (Thermal Transfer) คือระบบการพิมพ์ที่ต้องอาศัยผ้าหมึกในการพิมพ์ โดยตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์เพื่อละลายหมึกบนผ้าหมึกให้ติดสื่อที่ต้องการ ซึ่งผ้าหมึกที่เราใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เรียกว่า ริบบอน(Ribbon) ระบบการพิมพ์แบบผ่านริบบอนให้ความคงทน

                มารู้จัก ริบบอน(Ribbon) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

                แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Ribbon Wax, Ribbon Wax-Resin, และ Ribbon Resin

                - Ribbon Wax คือ ผ้าหมึกคุณภาพต่ำสุด ความคงทนน้อย นำใช้สื่อทั่วไป เช่น สติ๊กเกอร์ดาษมัน              
                  สติ๊กเกอร์กึ่งมันกึ่งดาษ
                - Ribbon Wax-Resin คือ ผ้าหมึกคุณภาพกลาง มีความคงทน นำไปใช้กับสื่อที่ต้องการความคงทน เช่น
                  สติ๊กเกอร์เนื้อผสมพลาสติก ที่ใช้งานในห้องเย็น
                - Ribbon Resin คือ ผ้าหมึกคุณภาพสูง มีความทนทานสูง ทนรอยขีดข่วน ทนความร้อน นำไปใช้กับสื่อที่
                 ต้องการความทนทานสูง เช่น สติ๊กเกอร์ติดอะไหล่ยนต์ สติ๊กเกอร์ติดแผงวงจรไฟฟ้า หรือแม้กระทั่ง
                 สติ๊กเกอร์ติดทรัพย์สินทั่วไปที่ต้องการระยะเวลาในการใช้งานหรือการเก็บเป็นเวลานาน


2. ระบบพิมพ์โดยตรง (Direct Thermal) คือระบบการพิมพ์โดยไม่ต้องใช้ริบบอน โดยตัวเครื่องจะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์และสัมผัสกับตัวสื่อโดยตรง ระบบการพิมพ์โดยตรงต้องใช้ควบคู่กับสื่อชนิดพิเศษ เป็นสื่อความร้อน คือ สื่อประเภทนี้จะเคลือบสารเคมีไว้ เมื่อสารเคมีโดนความร้อนจะปรากฏข้อมูลที่พิมพ์ขึ้นมา ซึ่งการพิมพ์ลงบนสื่อดังกล่าว จะมีอายุการเก็บรักษาไว้ไม่ได้นาน สารเคมีที่เคลือบอยู่จะสลายไปเองตามธรรมชาติ และไม่ทนต่อรอยขีดข่วน ตัวอย่างเช่น ฉลากยา ใบเสร็จค่าน้ำ - ค่าไฟ

 ประเภทของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

     แบ่งออก 3 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน คือ Desktop Printer, Mid-Rang Printer, Industrial Printer
1. Desktop Printer : คือเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดเล็ก ตัวเครื่องทำมาจากพลาสติก เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพทั่วไปปริมาณการพิมพ์ ไม่ควรเกิน 1,000 ดวงต่อวัน ความละเอียดของหัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ทั่วไป 200 - 300 dpi แต่อาจจะมีบางรุ่นที่รองรับหัวพิมพ์ 600 dpi ใช้งานทั่วไปตาม ร้านค้า โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ สนามบิน


                   

2. Mid-Rang Printer : คือเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดกลาง ตัวเครื่องเป็นโลหะ สามารถนำไปใช้งานโรงงานขนาดเล็ก ปริมาณการพิมพ์ ไม่ควรเกิน 3,000 ดวงต่อวัน ความละเอียดหัวพิมพ์ 200, 300, 400 and 600 dpi ใช้งานตามกลุ่มโรงงานขนาดเล็ก ร้านค้าขนาดกลาง 

                                                   
3. Industrial Printer : คือเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ ตัวเครื่องเป็นโลหะ ใช้งานในโรงงานขนาดใหญ่ มีความทนทานสูงปริมาณการพิมพ์ 4,000 - 100,000 ดวงต่อวัน ความละเอียดหัวพิมพ์ 200, 300, 400 and 600 dpi และมีความพิเศษในส่วนหน้ากว้างการพิมพ์ รองรับหน้ากว้างในการพิมพ์สูงสุด 8 นิ้ว ซึ่งเครื่องปกติทั่วไป หน้ากว้างในการพิมพ์ไม่เกิน 4 นิ้ว ใช้งานตามกลุ่มโรงงานขนาดโรงงานผลิต

                          

ประเภทของสื่อ (Media Type) ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด มีทั้งหมด 3 ประเภท

                1. Continue คือสื่อที่เป็นลักษณะต่อเนื่อง
                2. GAP/NOTCH คือสื่อที่ถูกตัดออกเป็นดวงๆ หรือเป็นลักษณะเป็นรู เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูงของสื่อแต่ละดวงได้
                3. Black Mark คือสื่อที่ทำเครื่องหมายสีดำไว้ด้านหลัง เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูงของสื่อแต่ละดวงได้

 การเลือกชื้อเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

                1. เลือกเครื่องพิมพ์ให้เหมาะสมกับปริมาณการพิมพ์ในแต่ละวัน เพื่อเลือกเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดรุ่นที่เหมาะสมกับการใช้งาน และคุ้มค่ากับ ธุรกิจ
                2. เลือกเครื่องพิมพ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน เช่นหากนำไปใช้งานในบริษัท หรือสำนักงานทั่วไปสามารถเลือกใช้งานเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดในกลุ่ม Desktop Printer ได้ แต่หากนำไปใช้งานสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น และมีความร้อน เช่นโรงงาน ควรเลือกใช้งานเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดในกลุ่ม Mid-Rang  ขึ้นไป
                3. เลือกขนาด ประเภทของสื่อที่สามารถใช้งานได้หลากกับสินค้า หรือวัตถุดิบ อย่างเช่น บริษัทผลิตสบู่ มีขนาดกล่องใส่สบู่ขนาดต่างๆกัน ควรเลือกขนาดสื่อที่มีขนาดสำหรับใช้งานได้กับกล่องใส่สบู่หลายขนาดเพื่อประหยัดเวลาในการเปลี่ยนขนาดของสื่อกับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
                4. หากจำเป็นต้องใช้งานสื่อหลายขนาด และประเภท แนะนำให้ใช้งานเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแยกตามขนาด และประเภทของสื่อ ตัวอย่างเช่น มีสติ๊กเกอร์ใช้งานสองขนาด ปริมาณการพิมพ์ต่อวันประมาณ 6,000 ดวงต่อวัน ปกติปริมาณการพิมพ์ประมาณนี้ต้องใช้งานเครื่องเกรด Industrial Printer แต่กรณีนี้เราสามารถใช้งานเครื่องเกรด Mid-Rang Printer 2 เครื่องทดแทน เพื่อเป็นการประหยัดเวลา และง่ายต่อการใช้งาน
               5. ประเภท หรือขนาดของสื่อ หากเป็นงานเฉพาะทาง ถึงแม้ปริมาณการพิมพ์ไม่มากนัก แต่ต้องเลือกเครื่องขนาด Mid-Rang Printer ขึ้นไป เพราะเนื่องจากเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กมีข้อจำกัด เช่น
                - สื่อประเภทที่ต้องใช้ความร้อนของหัวพิมพ์สูง เช่น สื่อทนความร้อน
                - สื่อขนาดเล็ก โดยขนาดความสูงน้อยกว่า 1.5 cm เช่น สื่อที่ติดในแผงวงจร พื้นที่ติดมีขนาดจำกัด
               6. เลือกความละเอียดของหัวพิมพ์บาร์โค้ดให้เหมาะสมกับขนาดข้อมูลที่ต้องการพิมพ์ลงบนสื่อ โดยความละเอียดของหัวพิมพ์จะส่งผลโดยตรงกับขนาดของข้อมูลที่พิมพ์ หากใช้งานความละเอียดของหัวพิมพ์ที่ความละเอียดต่ำข้อมูล พิมพ์ข้อมูลที่มีขนาดเล็กจะทำให้ข้อมูลไม่ชัดเจน อ่านได้ลำบาก และบางครั้งจะอ่านไม่ได้เลย รวมถึงตัวบาร์โค้ดด้วย หากหัวพิมพ์มีความละเอียดน้อยกว่าข้อมูลของตัวบาร์โค้ด จะทำให้บางโค้ดอ่านยาก หรืออ่านไม่ได้เลย โดยส่วนมากหากลูกค้าต้องการข้อมูลที่มีความละเอียดของข้อมูลสูงหรือต้องพิมพ์สี หรือตราบริษัท จะทำการพิมพ์ข้อมูลเหล่านั้นมาจากโรงงาน และข้อมูลที่ใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดพิมพ์เพิ่มเติมจะเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น วันที่ในการผลิต วันหมดอายุ
                7. เลือกพอร์ตการเชื่อมต่อที่เหมาะสมกับการใช้งานเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
                - พอร์ตการเชื่อมต่อของ Host และ Interface ที่โปรแกรม หรือระบบรองรับ
                - ระยะทางในการเชื่อมต่อ เช่น หากระยะทางเกินกว่า 5 เมตร ควรเลือกใช้งาน RS232, Ethernet or Wi-Fi
                8. เลือกเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด โดยดูที่ราคา ยี่ห้อ ที่เหมาะสมกับองค์กร หรือ งบประมาณที่มีอยู่
                9. เลือกเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด จากผู้ขายที่ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับองค์กร ของเรา ไม่ใช่เลือกแค่เพียงราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดในปัจจุบันมีหลากหลาย
                10. เลือกเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด จากบริษัทที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเรื่องการใช้งาน และบริการหลังการขาย

ข้อมูล เฉพาะ ที่ควรทราบเกี่ยวกับ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Scanner Barcode)

- Host หมายถึงอุปกรณ์ฝั่งรับส่ง ข้อมูลจากเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ซึ่งอาจจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถรับข้อมูลจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้
- สายสัญญาณ RS232 or Serial เป็นสายสัญญาณชนิด
- ความละเอียดของหัวพิมพ์เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด มีหน่วยเป็น dpi (Dot Per Inch) คือ หน่วยที่บอกว่า พื้นที่ 1 ตารางนิ้วสามารถมีจุดสีได้ทั้งหมดกี่จุด โดยการนำ Pixel มาแสดงผลในหน่วย นิ้ว (inch) ยกตัวอย่างเช่น จุดในพื้นที่ขนาด 1 นิ้ว 300 dpi หมายถึง ในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วจะมีเม็ด Pixel เรียงกันอยู่ 300 x 300 เม็ด

 





  • บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร บาร์โค้ด(barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า “รหัสแท่ง” ประกอบด้วยเส้นมืด(มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว)วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเล...

  • Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด) Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด) คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจไปยังคอมพิวเตอ...

  • Mobile Computer(เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ มีหน่วยความจำ หน่วยประมวลผล มีหน้าจอแสดงผล และสามารถพิมพ์ข้อมูลเข้าไปในตัวเครื่อง สามารถติ...

  • Mobile Printer(เครื่องพิมพ์แบบพกพา) คือ เครื่องพิมพ์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ มีหน่วยความจำ หน่วยประมวลผล เล็กน้อย ทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วทำการสั่งพิมพ์สื่อแบบความร้อน Mobile Printer ...

  • Card Printer(เครื่องพิมพ์บัตรพลาสติก) คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์บนบัตร PVC โดยเฉพาะ โดยใช้ความร้อนละลายหมึกเพื่อพิมพ์บนลงบัตรเครื่องพิมพ์บัตรที่ใช้งานทั่วไปมีความละเอียดข...

  • POS(Point of Sale) ระบบขายหน้าร้าน คือ ระบบสำหรับขายสินค้าหน้างาน สำหรับขายสินค้าทั่วไป ที่ต้องการระบบในการจัดการขายสินค้า รับสินค้า ขายสินค้า ออกบิล และรายงานการขายสินค้า โดยใช้ร...

  • WMS(Warehouse Manager) ระบบจัดการคลังสินค้า คือ ระบบการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือ วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า โดยอาศัยระบบ Barcode เข้ามาช่วยกำหนดตัวตนข...

  • REGISTER SYSTEM(ระบบลงทะเบียน) คือ ระบบลงทะเบียน โดยใช้บาร์โค้ด or RFID แทนที่การเซ็นชื่อเพื่อยืนยันตัวตนแบบเดิม ทำให้ประหยัดเวลา และสามารถตรวจสอบจำนวนผู้ลงทะเบียนได้ทันที ซึ่งระบ...

  • RFID (Radio Frequency Identification) RFID เป็นคำย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีแสดงตนแบบไม่ต้องสัมผัสโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ RFID แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก 1....
Visitors: 94,741